A trusted partner for AI&Robotics solutions driven by innovations at scale

Tag Drone

 “สไกลเลอร์”สนับสนุนโดรนขนส่งยาและเวชภัณฑ์หนุนกรมการแพทย์นำร่องทดสอบในพื้นที่เกาะช้าง จ.ตราด ยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ ในพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงยาก

บริษัท สไกลเลอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด หรือ SKYLLER ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้บริการอากาศยานไร้คนขับ (UAV) หรือ โดรน ในกลุ่มบริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ ARV พร้อมด้วยกรมการแพทย์ หน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข นำโดยนายแพทย์ธนะวัฒน์ วงศ์ผัน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตราด นายแพทย์ภาณุวัฒน์ โสภณเลิศพงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเกาะช้าง และแพทย์หญิงเมธาพร ลิ่มวรพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแหลมงอบ ร่วมทดสอบและพัฒนาต้นแบบการใช้โดรนสนับสนุนภารกิจทางการแพทย์  ในการขนส่งยาและเวชภัณฑ์ในพื้นที่ห่างไกล และเข้าถึงยาก เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึง  คุณสินธู ศตวิริยะ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท สไกลเลอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด และหัวหน้ากลุ่มงานเวนเจอร์ส บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด  กล่าวว่า “ในปัจจุบัน การเข้าถึงยาและเวชภัณฑ์ในพื้นที่ห่างไกลของไทยยังคงมีความท้าทายอยู่มาก เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนานกว่าพื้นที่ปกติ ถึงแม้มีระบบการขนส่งทางถนนหรือระบบการขนส่งทางน้ำแล้วก็ตาม อีกทั้งการขนส่งยาและเวชภัณฑ์มีความซับซ้อนมากกว่าการขนส่งสินค้าทั่วไป…

ARV – AIS 5G ต่อยอดความร่วมมือในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ดึงศักยภาพปัญญาประดิษฐ์ ส่งนวัตกรรมใหม่ AI Autonomous Drone System บนโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ครั้งแรกในไทย!! พร้อมเชื่อมต่อสู่การทำงานจริงในภาคอุตสาหกรรม

จากการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องระหว่าง AIS 5G และ กลุ่ม ปตท. ตั้งแต่ปี 2561 ในการนำ 5G และแพลตฟอร์มมาเป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เพื่อประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ พัฒนาโดยกลุ่ม ปตท. และเป็นฐานที่ตั้งสำคัญของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi ผ่านการทำงานอย่างใกล้ชิดกับบริษัท ARV ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาและให้บริการเทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ของไทย ภายใต้ ปตท.สผ. เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม อากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน เพื่อนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม วันนี้ได้ยกระดับการทำงานของโดรนไปอีกขั้นสู่ 5G AI Autonomous Drone System (Horrus) ครั้งแรกของไทยที่พัฒนาโดยฝีมือคนไทย ซึ่งนำเทคโนโลยี AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ มีความฉลาดและอัจฉริยะเข้ามาเสริมขีดความสามารถการทำงาน และเป็นครั้งแรกของโดรนที่ทำงานจริงบนโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ผ่านเทคโนโลยี Autonomous Network มาใช้ในการบริหารจัดการระบบ Network ได้อย่างคล่องตัว ช่วยให้บริหารจัดการระบบการรักษาความปลอดภัยได้ตลอด 24 ชม. ในพื้นที่เมืองอัจฉริยะวังจันทร์วัลเลย์ มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานของ Smart City พร้อมทั้ง Regulatory & Innovation Sandbox หรือ พื้นที่ผ่อนปรนกฎระเบียบสำหรับการพัฒนานวัตกรรม ทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านอากาศยานไร้คนขับ ด้านยานยนต์อัตโนมัติ ด้านนวัตกรรมพลังงาน…

Drone Vidya ร่วมแบ่งปันความรู้ทางด้านอากาศยานไร้คนขับในงานสัมมนาวิชาการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยภาคตะวันออก ประจำปี 2565

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2565 ดร.เมธวิน กิติคุณและ ดร.เชน คริสโตเฟอร์ อาชิเค็ทท์  Co-founder จาก Drone Vidya ร่วมให้ความรู้ภายใต้หัวข้อ “อากาศยานไร้คนขับ กับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย (Drone For Safety)” ในงานสัมมนาวิชาการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยภาคตะวันออก ประจำปี 2565 ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน(องค์การมหาชน) หรือ สสปท. (กระทรวงแรงงาน) ณ โรงแรมนิกโก้ อมตะ ซิตี้ จังหวัดชลบุรี ภายใต้ธีมงาน “มุ่งสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะที่ปลอดภัยและสังคมคาร์บอนต่ำ”  เพื่อผลักดันสู่ความเป็น Safety Smart Low Carbon…

โดรนสัญชาติไทย ไม่แพ้ใครในโลก

โดรนสัญชาติไทย ไม่แพ้ใครในโลก หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าคนไทยสามารถสร้างโดรนที่บินได้แบบไร้คนขับ เพื่อปฏิบัติภารกิจสุดท้าทาย กับโจทย์สุดหิน บินเหนือแท่นขุดเจาะน้ำมันกลางทะเลได้ไม่ต้องอาศัยคนบังคับ Techhub Inspire พาไปคุยกับ “ภาคภูมิเกรียงโกมล” Robotic Team Lead จาก AI and Robotics Ventures หรือ ARV สตาร์ตอัพไทยที่ไปไกลเรื่องระบบอัตโนมัติ กับความฝันที่จะไปไกลถึงระดับโลก : เริ่มต้นจาก Passion  ภาคภูมิเติบโตมากับการ์ตูนในยุค 90s ที่สร้างแรงบันดาลใจจากหุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือมนุษย์ได้แบบเดียวกับโดเรม่อนที่คอยช่วยเหลือโนบิตะ ความฝันในวัยเด็ก นำพาเขาก้าวเข้าสู่โลกของหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยเริ่มจากการเขียนโปรแกรมเชื่อมระหว่างยูสเซอร์กับฮาร์ดแวร์เข้าด้วยกัน จากหุ่นยนต์เดินตามเส้น ไปจนถึงเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมเครื่องจักร ในช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัย หลังจากเรียนจบ ภาคภูมิเริ่มต้นอาชีพแรกในฐานะวิศวกร แต่กลับพบว่างานที่ทำยังไม่ตอบโจทย์แพชชั่นของตัวเองที่ยังสนุกกับการสร้างหุ่นยนต์มากกว่า จึงตัดสินใจเรียนต่อด้าน Robotics ที่มหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ที่นั่นเขาได้ลงมือทำหุ่นยนต์ที่ใช้ประโยชน์ได้มากกว่าที่เคยทำ เช่น หุ่นยนต์แมงมุม ที่ใช้ในภารกิจสำรวจสะพาน หรือโครงสร้างเหล็กที่อยู่สูงแทนคนเพื่อช่วยลดความเสี่ยง จากนั้นก็ได้ต่อยอดมาทำงานด้านวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์มาจนถึงตอนนี้ “ญี่ปุ่นมีความพร้อมด้านหุ่นยนต์มาก่อนประเทศเราพอสมควรมีหน่วยงานเข้ามาสนับสนุนทำให้มีความพร้อมทั้งทางด้านอุปกรณ์และองค์ความรู้ต่างๆให้ได้ศึกษาตอนกลับมาไทยก็ได้เข้ามาอยู่ในองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมและมีงบวิจัยพัฒนาเข้ามาเรื่อยๆมีโอกาสได้ทำงานกับคนที่มี Passionคล้ายกันเหมือนเราพกไอเดียมาจากบ้านแล้วได้มาลองค้นหาคำตอบร่วมกันกลายเป็นความสนุกและความท้าทายที่ทำให้รู้สึกต่างจากการทำงานทั่วไป” เขาอธิบาย : โจทย์สุดท้าทาย หนึ่งในหุ่นยนต์ที่สร้างชื่อให้กับ ARV คือ Horrus โดรนสำรวจที่สามารถบินได้แบบอัตโนมัติ เพื่อใช้งานแทนคนในภารกิจที่ท้าทาย และเต็มไปด้วยความเสี่ยง ภาคภูมิบอกว่า ตลาดโดรนเป็นหนึ่งในตลาดที่สามารถตอบโจทย์คนทำงานในธุรกิจ Oil and Gas ได้ดีที่สุด ในอดีตหากต้องการสำรวจปล่องไฟในโรงงานอุตสาหกรรม…

Varuna จับมือ 5G EIC พัฒนาเทคโนโลยี 5G สำหรับอากาศยานไร้คนขับ

นางสาวพณัญญา เจริญสวัสดิ์พงศ์ (ที่สองจากขวา) ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ จับมือ Thailand 5G Ecosystem Innovation Center (5G EIC) โดยมี นายเฉิน ข่าน (ที่สองจากซ้าย) ผู้จัดการด้านการตลาดอาวุโส ศูนย์ 5G EIC ร่วมพูดคุยถึงศักยภาพในการใช้เทคโนโลยี 5G ร่วมกับอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน และเทคโนโลยีการเกษตรและสิ่งแวดล้อมของวรุณา ที่ศูนย์ Thailand 5G Ecosystem Innovation Center (5G EIC) เมื่อเร็ว ๆ นี้…

เออาร์วี ทูลเกล้าฯ ถวายโดรนเพื่อการเกษตรอัจฉริยะรุ่นเจ้าเอี้ยง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังอาคารศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม พระราชทานพระราชวโรกาสให้ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ทูลเกล้าฯ ถวายโดรนเพื่อการเกษตร รุ่นเจ้าเอี้ยง ซึ่งเป็นนวัตกรรมของบริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี เพื่อทรงใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย ทั้งนี้ “โดรนเจ้าเอี้ยง” พัฒนาโดยคนไทย เพื่อคนไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการฉีดพ่นปุ๋ยที่แม่นยำ ลดเวลาการทำงานเเละค่าใช้จ่าย รวมถึงเพิ่มผลผลิต มีจุดเด่นคือ ระบบควบคุมการบินอัตโนมัติ หรือ Flight Controller ที่ออกแบบให้ง่ายต่อการใช้งาน มาตรฐานรักษาความปลอดภัยของข้อมูลระดับสูง

โดรนโชว์แปรอักษร การแสดงแสงสีสุดตระการตา เพื่อสร้างมูลค่าและยกระดับภาพลักษณ์ทางธุรกิจ

ทำความรู้จัก โดรนโชว์แปรอักษร การแสดงแสงสีสุดอลังการ ที่สร้างความบันเทิงให้กับผู้ชมได้ในวงกว้าง เปิดประสบการณ์ใหม่และสร้างความประทับใจอย่างไม่รู้ลืม เทรนด์ใหม่ในการสร้างตัวตนของแบรนด์ผ่านการแสดงบนท้องฟ้า ปัจจุบันนี้พื้นที่สื่อต่างอัดแน่นไปด้วยโฆษณาจากแบรนด์ต่าง ๆ ที่แข่งขันกันเพื่อแย่งชิงป้ายโฆษณาในทุกตารางนิ้ว ไม่ว่าจะเป็นป้ายบิลบอร์ดขนาดใหญ่ ไปจนถึงป้ายโฆษณาดิจิตอล LED และการโฆษณาทางทีวี ที่เน้นการเข้าถึงกลุ่มคนจำนวนมาก ซึ่งแนวโน้มจะมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยข้อจำกัดทางพื้นที่ และการแข่งขันที่สูงขึ้น ในขณะที่ผลตอบรับหรือการจดจำแบรนด์ของลูกค้านั้นกลับตกลงสวนทางกัน โดรนโชว์แปรอักษร นวัตกรรมใหม่ ที่สร้างความตื่นตาตื่นใจได้ในทุกกิจกรรม ขณะที่ทุกแบรนด์เกิดการแย่งพื้นที่สื่อ ช่วงชิงจังหวะเพื่อสร้างการรับรู้ของแบรนด์ นักการตลาดหรือเจ้าของกิจการ ต่างพากันมองหาวิธีแปลกใหม่ ที่ไม่เหมือนใครในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า เพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำต่อกลุ่มเป้าหมาย โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดรนแปรอักษร ได้เข้ามาเป็นนวัตกรรมใหม่ ที่สร้างความตื่นตาตื่นใจได้ในทุกกิจกรรม และช่วยดึงดูดทุกสายตาโดยรอบให้สนใจ รวมถึงสร้างภาพจำให้กับลูกค้าต่อธุรกิจได้อย่างดีเยี่ยม ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา แบรนด์ระดับโลกรวมถึงงานอีเวนท์สำคัญ ได้ใช้โดรนแปรอักษรเป็นเครื่องมือทางการตลาดได้อย่างน่าทึ่ง…

SKYLLER เปิดตัวโซลูชั่น HighSight แพลตฟอร์มอัจฉริยะควบคุมโดรน

(วันที่ 7 ธันวาคม 2564) SKYLLER เปิดตัวโซลูชั่นอัจฉริยะ HighSight ผสานเทคโนโลยี AI และ Machine Learning ควบคุมสั่งการ Horrus อากาศยานไร้คนขับที่ขับเคลื่อนตนเองอย่างสมบูรณ์แบบครั้งแรกของไทยจาก ARV ได้อย่างไร้รอยต่อ พร้อมชู Total Solution ต่อยอดให้บริการในเชิงพาณิชย์ จับลูกค้าขนาดกลางและขนาดใหญ่ ในทุกอุตสาหกรรมที่ต้องการโดรนไร้คนขับเพิ่มมูลค่าและประสิทธิภาพการทำงาน ลดความเสี่ยงบุคลากร ประหยัดเวลา ลดต้นทุน และหนุนธุรกิจยืนแถวหน้าในชูลดต้นทุนค่าใช้จ่ายลง 50% เมื่อเทียบกับการเช่าโดรน จ้างนักบิน เห็นผลคุ้มทุนใน 1 ปี ตั้งเป้ารายได้ 100 ล้านบาท ในปี 2565  ดร. ศิวัตม์ สายบัว CEO & Co-Founder บริษัท สไกลเลอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด หรือ SKYLLER ผู้นำด้านการพัฒนา และให้บริการตรวจสอบอุตสาหกรรมและโครงสร้างด้วยโดรนและระบบ AI หนึ่งหน่วยธุรกิจภายใต้ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ ARV ในเครือบริษัท ปตท.สผ. เปิดเผยว่า “SKYLLER ก่อตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม และแอปพลิเคชันอัจฉริยะที่นำ AI และMachine Learning (ML) มาใช้ทำงานร่วมกับอากาศยานไร้คนขับ (UAV) หรือ โดรนและหุ่นยนต์รูปแบบอื่น ๆ เพื่อแก้ไขข้อจำกัดของธุรกิจต่างๆ…

VARUNA-Samsung จัดโครงการ“อบรมทักษะการบินโดรนแก่เกษตรกร” พลิกโฉมเกษตรกรรมไทยสู่ยุคสมาร์ทฟาร์ม

บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด หรือ VARUNA ผู้นำด้านการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรของไทยภายใต้เครือ เอไอ แอนด์ โรโบติกส์เวนเจอร์ส หรือเออาร์วี (ARV) จับมือบริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด สร้างสรรค์โครงการเพื่อสังคม “ARV x Samsung CSR Collaboration Project” มุ่งยกระดับขีดความสามารถการเกษตรไทยก้าวสู่ยุคสมาร์ทฟาร์มนำร่องด้วยกิจกรรม “อบรมทักษะนักบินอากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อการเกษตร”  แก่เกษตรกรไทยรุ่นใหม่ สร้างสังคมการเกษตรอัจฉริยะ เสริมทักษะด้านเทคโนโลยี และสร้างอาชีพ มุ่งยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเกษตรกรรมไทย ที่เปรียบเหมือนกระดูกสันหลังของประเทศให้เข้มแข็งและยั่งยืน ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี (ARV) ผู้นำด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ในเครือบริษัท ปตท.สผ. เปิดเผยว่า “เออาร์วี มีความมุ่งมั่นในการสร้างศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ ด้วยการยกระดับโครงสร้างเศรษฐกิจผ่านการขับเคลื่อนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์  โดยภาคการเกษตรนับเป็นมิติใหญ่ที่สำคัญมากในระบบเศรษฐกิจของประเทศที่ต้องเร่งผลักดันการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมายกระดับให้กลายเป็นการเกษตร 4.0 และเป็นเสมือนหนึ่งเส้นเลือดใหญ่ที่สำคัญของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ด้วยเหตุนี้เออาร์วีได้จัดตั้งบริษัทย่อยอย่าง บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด หรือ VARUNA เพื่อบุกเบิกนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาประยุกต์ใช้ในการทำเกษตรกรรมแม่นยำ เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหาการเกษตร โดยใช้เทคโนโลยีภาคการเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก  การส่งเสริมการผลิต เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน นำไปสู่การเพิ่มมูลค่าการเกษตรได้สูงขึ้น รวมถึงการให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในแง่ของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และป่าไม้ได้อย่างยั่งยืน พณัญญา เจริญสวัสดิ์พงศ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด หรือ VARUNA กล่าวว่า ”หนึ่งในเทคโนโลยีที่วรุณามีความภาคภูมิใจคือการนำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Drone) มาใช้ในภาคเกษตรกรรมซึ่งถือเป็นเทคโนโลยี ที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงให้กับเกษตรกรในแง่ของสุขภาพ เพราะลดความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมี ทั้งยังช่วยลดความเสียหายของพืช และเพิ่มศักยภาพในการทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น การฉีดพ่นก็ทำได้สม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง ไม่มีส่วนที่พ่นซ้ำเนื่องจากโดรนจะจับพิกัดของจุดที่ฉีดพ่นได้อย่างแม่นยำ จึงประหยัดการใช้น้ำ รองรับการฉีดพ่นพื้นที่แปลงใหญ่ และช่วยเพิ่มผลผลิตได้ดียิ่งขึ้น”  “โดยหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่มีบทบาทอย่างมากในการประกอบอาชีพนักบินโดรนเกษตรก็คือสมาร์ทดีไวซ์ (Smart Devices) เพราะนอกจากการใช้รีโมทเพื่อควบคุมทิศทางเเล้ว การมี Smart device  ที่มีขนาดหน้าจอที่เหมาะสมเเละมีระบบประมวลผลที่รวดเร็ว จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของนักบินโดรนเกษตรอย่างชัดเจน เช่น การวาดตำแหน่งแปลง การวางแผนเเละตั้งค่าต่างๆก่อนขึ้นบิน การติดตามสถานะต่างๆขณะทำการบิน รวมถึงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างทันท่วงที ซึ่งถือเป็นการเพิ่มความปลอดภัย เเละความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลต่อคุณภาพงานฉีดพ่นเเละการรับรู้รายได้ของนักบินโดรนเกษตร” พณัญญากล่าวเสริม “ด้วยเหตุนี้บริษัทฯ จึงได้ร่วมมือกับผู้ผลิตสมาร์ทดีไวซ์ระดับโลกอย่าง บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด (Samsung) ทำโครงการเพื่อสังคม ARV x Samsung CSR Collaboration Project ให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมกับกลุ่มเกษตรกรเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีให้เกษตรกรสามารถจัดการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) สร้างประโยชน์ให้กับตนเองและชุมชนในลำดับต่อไป นำร่องด้วยกิจกรรม “Varuna Drone Pilot Training” อบรมทักษะนักบินอากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อการเกษตร แก่เกษตรกรไทยยุคใหม่ด้วยแนวคิด “ติดปีก เสริมทักษะ ส่งเสริมเกษตรอัจฉริยะไทย” โดยมีการเริ่มนำร่องจัดฝึกอบรมแล้วในพื้นที่องค์กรบริการส่วนตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี   ซึ่งมีการให้ความรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ตั้งแต่ส่วนประกอบของโดรน การใช้งานโดรน การซ่อมแซม วิธีการบังคับ รวมถึงกฎหมายต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องรู้ก่อนทำการบิน และการฝึกบังคับเบื้องต้นด้วยโปรแกรมจำลองการบินโดรน เพื่อเตรียมตัวบังคับโดรนการเกษตรในสนามจริง และเมื่อผ่านการอบรมจะได้รับเกียรติบัตรจบหลักสูตร สามารถนำความรู้ไปช่วยบริหารจัดการแปลงเกษตรของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือสร้างรายได้จากการรับจ้างดูแลจัดการแบบการเกษตรอื่นได้อีกด้วย” พณัญญาสรุป ปารมี ทองเจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดองค์กร บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด (Samsung) เปิดเผยว่า “ภาคการเกษตรของไทยยังคงมีศักยภาพและความเข้มแข็งไม่น้อย เนื่องจากศักยภาพของพื้นที่การเพาะปลูกที่อุดมสมบูรณ์ สินค้าการเกษตรที่หลากหลายมีคุณภาพดี การใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการผลิตจะยิ่งส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถของภาคการเกษตรไทยให้แข็งแกร่งและยั่งยืนได้ ซัมซุงในฐานะผู้นำนวัตกรรมระดับโลก และผู้พัฒนาสมาร์ทดีไวซ์ (Smart Devices) บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ได้เล็งเห็นว่าวรุณาได้พัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องการเกษตรสมัยใหม่บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เช่นเดียวกัน จึงมีความตั้งใจที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีจากทั้งสองฝ่ายมาผนึกกำลังกันในกิจกรรม “Varuna Drone Pilot Training” ด้วยการมอบอุปกรณ์อัจฉริยะ (Smart Devices) ได้แก่ อุปกรณ์แท็บเล็ต รุ่น Galaxy Tab A 8.0 จำนวน 23 เครื่อง และสมาร์ทโฟน รุ่น Galaxy S10+ จำนวน 30 เครื่อง สำหรับใช้ในกิจกรรมตามแผนการดำเนินโครงการฯ ด้วยจุดประสงค์ต้องการส่งเสริมการเข้าถึงและนำเทคโนโลยีใหม่ ที่สามารถใช้ในการสร้างนวัตกรรม ที่สามารถสร้างมูลค่า พัฒนาศักยภาพเกษตรกร วางรากฐานความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย พร้อมช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคมในองค์รวม”   สำหรับหน่วยงานที่ต้องการร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ หรือชุมชนที่สนใจฝึกอบรมทักษะนักบินอากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อการเกษตรใน กิจกรรม “Varuna Drone Pilot Training” สามารถติดต่อแจ้งความสนใจหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่https://www.facebook.com/varunatech หรือ Line @VarunaTech โดยทางบริษัทมีความยินดีในการจัดฝึกอบรมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถชมคลิปบรรยากาศการอบรมได้ที่